วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

รูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม

รูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมจัดว่าเป็นรูปหล่อเกจิอาจารย์ที่มีอายุการสร้างที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการศึกษาค้นคว้าในประเภทรูปหล่อขนาดเล็กและยังจัดได้ว่าเป็น รูปหล่อที่มีค่านิยมสูงสุดในบรรดาพระเครื่องประเภทรูปหล่อคณาจารย์ แต่ก็อาจเป็นข้อกังขาของผู้ที่ศึกษาพระเครื่องที่คงได้รับรู้มาว่า หลวงพ่อเงินรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาสร้างก่อนพิมพ์นิยม ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจว่า พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม ค่อนข้างจะมีหลักฐานในการจัดสร้างแน่นอน ว่าทางวัดบางคลานได้ว่าจ้างช่างเทหล่อพระ มาจากบ้านช่างหล่อกรุงเทพฯ โดยรูปหล่อที่สร้างอยู่ระหว่าง พ.ศ.๒๔๔๘-๒๔๕๕ และมีข้อมูลว่าเป็นการจัดสร้างครั้งแรกของวัดโดยเทหล่อพร้อมเหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ และเหรียญหล่อพิมพ์จอบเล็ก ส่วนรูปหล่อพิมพ์ขี้ตาเป็นฝีมืองานช่างพื้นบ้านซึ่งมีการกล่าวว่าสร้างหลายคราวแต่ขาดหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด เป็นเพียงคำบอกเล่าเท่านั้น แต่ด้วยความที่เป็นรูปหล่อที่ดูแล้วเกิดความเข้มขลังเพราะงานหล่อที่ขาดความประณีตเท่ารูปหล่อพิมพ์นิยม ทำให้เมื่อสังเกตเกิดความรู้สึกว่ารูปหล่อพิมพ์ขี้ตาน่าจะสร้างในคราวแรกๆ แต่อย่างไรก็ตามทั้งรูปหล่อพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตาน่าจะเทหล่อในเวลาใกล้เคียงกัน
หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ ท่านเกิดในช่วง พ.ศ.๒๓๔๘-๒๓๕๕ โดยประมาณเพราะโบราณไม่มีการบันทึกเวลาเป็นแน่นอน (ทางวัดบันทึกว่าท่านเกิด พ.ศ.๒๓๕๓) นับจนถึงปัจจุบันก็เป็นเวลา ๒๐๐ ปี และด้วยรูปหล่อพิมพ์นิยมที่กล่าวกันว่าสร้างเมื่อระหว่าง พ.ศ.๒๔๔๘-๒๔๕๕ ถ้านับตามปีหลังแล้วรูปหล่อนี้ก็จะมีอายุความ ๑๐๐ ปี ฉะนั้นนักนิยมพระที่รักการศึกษาสะสมควรจะรู้รายละเอียดปลีกย่อยบ้าง เพื่อประกอบพิจารณาว่าการสร้างนั้นมีวิธีกรรมอย่างไร มวลสารเนื้อหาเป็นอย่างไร พิธีกรรมตลอดจนกระบวนการช่างหล่อ ช่างแต่ง รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ พิมพ์นิยม วัดบางคลาน จำแนกพิมพ์ออกเป็น ๒ แบบพิมพ์ คือ
๑.พิมพ์นิยมมีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายชิด
๒.พิมพ์นิยมไม่มีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายห่าง
ในส่วนรายละเอียด พิมพ์นิยมมีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายชิด หรือพิมพ์ชายติดให้สังเกตุมือซ้ายขององค์พระจะเห็นรูปมือวางมีนิ้วชี้วางซ้อนรับนิ้วหัวแม่มือ ส่วนมือขวามีเพียงนิ้วหัวแม่มือไม่ปรากฎมีนิ้วรอง (น่าจะเรียกว่าพิมพ์มีนิ้วรองจะง่ายกว่า) และชายจีวรด้านซ้ายมือของรูปหล่อส่วนที่ติดข้อมือซ้ายชายจีวรสองเส้นจะเชื่อมติด
ส่วนรายละเอียดของพิมพ์นิยมไม่มีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายห่าง หลวงพ่อจะไม่ปรากฎนิ้วชี้รองรับ (บางองค์อาจเห็นเป็นทิวบางๆแต่ไม่ชัดเจน) และในริ้วจีวรด้านซ้ายมือของหลวงพ่อที่ติดกับข้อมือซ้าย จะเห็นเป็นชายจีวรเป็นเส้นเรียงไม่ติดกัน จุดสังเกตอีกสองจุดคือเท้าซ้ายของหลวงพ่อที่พ้นจากริ้วจีวรจะมีเนื้อเกินนูนขึ้นเป็นรูปสามเหลี่ยม และเกือบปลายเท้าซ้ายด้านบนจะมีติ่งเนื้อนูน สองติ่ง ซึ่งจุดตำหนิทั้งสองจุดนี้จะอยู่บนเท้าซ้ายและอยู่ล่างเท้าขวาหลวงพ่อ รายละเอียดของหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมทั้งสองแบบ
พิมพ์ที่กล่าวมาเป็นรายละเอียดปลีกย่อย ส่วนเค้าโครงร่างโดยรวมแทบจะไม่แตกต่าง ทำให้เราสามารถเข้าใจได้ว่าทั้งสองพิมพ์ล้วนใช้แม่แบบ (ตัวแม่) ตัวเดียวกันแต่เกิดจากการถอดแม่พิมพ์สองครั้งทำให้เกิดรายละเอียดที่แตกต่างกันเล็กน้อย
พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม เป็นพระที่ผ่านการแต่งรายละเอียดในขั้นตอนที่เป้นหุ่นเทียน เช่นช่างจะทำการแต่งรายละเอียดตาและปากตลอดจนเก็บรอยตะเข็บและแต่งริ้วจีวรด้านข้างทั้งสองข้างเพราะฉะนั้นเมื่อเทหล่อสำเร็จเป็นองค์พระเรียบร้อยแล้วไม่ปรากฎรอยตะเข็บข้างให้เห็น รายละเอียดเกี่ยวกับใบหน้าจะแตกต่างกันไปเล็กน้อยก็เพราะผ่านการแต่งให้เกิดความสวยความมาตั้งแต่ต้นไม่ใช่มาแต่งภายหลังเมื่อเทเสร็จ ใต้ฐานองค์พระจะเห็นรอยช่อชนวนประมาณเล็กกว่าแท่งดินสอเล็กน้อย รายละเอียดที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนเป็นจุดในการพิจารณาและยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อองค์พระต้องเป็นเนื้อทองเหลืองปนขาวเล็กน้อยตามซอกองค์พระมักจะมีคราบน้ำตาลคลุมนั้นคือ สีสนิมที่เกิดจากธรรมชาติตลอดจนต้องเป็นพระที่เกิดจากเทหล่อด้วยดินไทย คือจะมีเม็ดดินเบ้าสีดำเล็กๆฝังอยู่ตามผิวองค์พระ ซึ่งเม็ดดินเบ้าเหล่านี้นักนิยมพระรุ่นครูอาจารย์เรียกว่าแร่น้ำพี้และต่างย้ำนักหนาว่าต้องมีถึงจะเป็นอีกจุดหนึ่งที่บ่งชี้ว่าเป็นพระแท้ โดยสรุปในการศึกษารูปหล่อหลวงพ่อเงินทั้งพิมพ์นิยม และพิมพ์ขี้ตาต้องพิจารณา
๑.พิมพ์ หมายถึงรายละเอียดรูปแบบขององค์พระตำหนิในพิมพ์ต้องถูกต้อง ขนาดองค์พระต้องถูกแบบ ต้องอ่านพิมพ์ออกว่าเป็นพิมพ์อะไร พิมพ์นิยมหรือพิมพ์ขี้ตา
๒.เนื้อหา เนื้อพระสีสันต้องถูกต้องกระบวนการผลิตต้องอ่านออกว่าเป็นพระที่เทหล่อดินไทยแบบโบราณเท่านั้นทั้งสองข้อที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าทำความเข้าใจก็ย่อมศึกษาพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินได้ไม่ยากและทั้งหมดนี้ผู้เขียนขออาธนาคุณบารมีหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ คุ้มครองทุกท่านให้โชคดีปราศจากโรคภัยใดๆกล่ำกลาย ให้ได้วัตถุมงคลหลวงพ่อคุ้มครอง

ขอขอบคุณ บทความคัดลอกมาจาก http://palungjit.org/threads/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1-a-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2.614054/

วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ตำหนิชี้เป็นชี้ตาย ของ รูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดห้วยเขน

ตำหนิชี้เป็นชี้ตาย ของ รูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดห้วยเขน


จมูกจะมีความใหญ่ ไม่โด่งแหลม เนื้อพระต้องมีความเก่า วรรณะผิวสุกเปล่งไม่เก่าเขละ สีของพระมีทั้ง น้ำตาลเข้ม เหลืองอมเขียว เป็นเนื้อโลหะผสม กลมกลืน เป็นพิมพ์แบบหล่อโบราณ ตามซอกมีคราบเก่าแห้งด้าน ใต้ฐานจะมีรอยตะไบ มีรอยแอ่งน้ำ ไม่พบรูพรุน หรือเนื้อเกินเนื้อขระขระ

ข่าวด่วนหลวงพ่อเงินวัดบางเขน "กรุแตก" {ลงหนังสือพิมพ์นานแล้ว}

ข่าวด่วนหลวงพ่อเงินวัดบางเขน "กรุแตก" {ลงหนังสือพิมพ์นานแล้ว}








วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561

รูปหล่อ โบราณหลวงพ่อเงิน

รูปหล่อ โบราณหลวงพ่อเงิน สร้างที่วัดห้วยเขน ปี ๒๔๕๖ พิมพ์ใหญ่หน้าหนู นิยม องค์ใหญ่เท่านิ้วก้อย พระรูปหล่อโบราณ หลวงพ่อเงิน ออกวัดห้วยเขน กระแสเนื้อในองค์พระ สีจะออกแดงเขียวช้ำดำกล่ำ มีสนิมเขียวงอกออกมาในเนื้อพระ มองเห็นเป็นจุด ๆ เคยเอาปลายเข็มสกิตดูตรงสนิมเขียวเนื้อแข็งมาก ๆมองด้วยสายตาเปล่าเนื้อพระกระแสเนื้อออกเป็นสีปลีกแมลงทับ องค์พระมีรอยสึกกร่อน มาก มองมีเสน่ห์ของเนื้อของความเก่า วิเคราะห์ถึงความเก่าขององค์พระหรือเนื้อพระถึงยุคของหลวงพ่อเงิน


วันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561

จุดสังเกตุ พิมพ์ต่างๆ ของ หลวงพ่อเงินวัดห้วย เขน

พิมพ์ต่างๆ ของหลวงพ่อเงินวัดห้วยเขน จ. พิจิตร

1.พิมพ์ใหญ่นิยม A ลักษณะพระจะมีความอูมใหญ่ หล่อโบราณ ส่วนใหญ่จะไม่พบรอยตะไบ ราคาอยู่ที่หลักแสน

2. พิมพ์ใหญ่ นิยม B องค์พระจะอวบอูนใหญ่แต่ฐานมีข
นาดเล็กกว่า ใหล่จะเล็ก กว่าพิมพ์แรก จะพบรอยตะไบด้านข้าง หลักหมื่น

3. พิมพ์ใหญ่หน้าหนู พบว่าจำนวนการสร้างมีน้อย ขนาดจะเท่ากับพิมพ์ใหญ่ แต่จุดสังเกตุคือจมูกปากจะยื่นแหลมคล้ายหนู
หลักหมื่น

4.พิมพ์กลางฐานสูง ขนาดจะเล็กกว่าพิมพ์ใหญ่ แต่ฐานจะสูงกว่า ราคหลักหมื่น

5. พิมพ์เล็กก้นอุ และก้นธรรมดา เป็นพิมพ์หายาก มีขนาดเล็กกว่าพิพม์อื่น ใต้ฐานมีทั้งก้นมีอุ ไม่ไม่มีอุ พิพม์ก้นอุหน้าจะมีความชัดกว่า หลักหมื่นต้นๆ

วันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2561

วัตถุมงคลหลวงพ่อเงิน วัดห้วยเขน

" วัตถุมงคลหลวงพ่อเงิน วัดห้วยเขน จ.พิจิตร เริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ยอมรับเล่นหากันมากขึ้น ซึ่งที่จริงพระชุดนี้มีในรายการประกวดพระท้องถิ่นมานานแล้ว ช่วงนี้มีราคาปรับสูงขึ้นเรื่อยๆ บางพิมพ์ซื้อขายกันกว่าแสนแล้วก็มี

เนื่องจาก " ประวัติการสร้างเกี่ยวโยงถึงหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน และมีอายุความเก่าทันยุคหลวงพ่อเงินอีกด้วย " โดยวัดห้วยเขนตั้งอยู่ห่างจากวัดวังตะโกประมาณ 20 กิโลเมตร หลวงพ่อเงินท่านมีเมตตาไปช่วยบูรณะวัดแห่งนี้ สร้างศาลาการเปรียญ สร้างหอระฆัง กุฏิสงฆ์ ฯลฯ...พระหลวงพ่อเงิน วัดห้วยเขน สร้างโดย "พระครูล้อม" เจ้าอาวาสวัดห้วยเขนในสมัย ปี พ.ศ. 2456...

มีทั้งรูปหล่อ เหรียญจอบ รูปถ่ายขาวดำหลวงพ่อเงิน พระเนื้อดินพิมพ์พระปิดตา พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์เปิดโลก พิมพ์ประทานพร พิมพ์สมเด็จคะแนน ฯลฯ...ในสมัยนั้นออกให้บูชาเพียงองค์ละ 1 บาท...พระที่เหลือนำบรรจุกรุไว้ใต้ฐานชุกชี ซึ่งพระเนื้อดินถูกขโมยขุดหลายครั้ง ทางวัดจึงได้เปิดกรุนำออกให้ประชาชนบูชาในปี 2525...

สำหรับรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดห้วยเขน เป็นพระหล่อโบราณที่มีอายุความเก่า มีขนาดเล็กกว่าพิมพ์นิยมในสมัยหลวงพ่อเงินเล็กน้อย...การพิจารณาควรจำพิมพ์ให้แม่นยำ เพราะในปัจจุบันมีของปลอมเลียนแบบจำนวนมาก...พระแท้บางองค์อาจมีตะไบแต่งริ้วจีวร บั้งแขน แต่ถ้าหล่อสวยและสมบูรณ์ส่วนใหญ่ไม่มีแต่งตะไบ

" จุดสำคัญคือ ใต้ฐานต้องเรียบ ไม่มีรอยเนื้อเกิน มีตะไบแต่งใต้ฐาน...ถ้าใต้ฐานมีรูพรุนแบบตามดจะเป็นของปลอม "...เนื้อพระมีทั้งสัมฤทธิ์สีน้ำตาลเข้ม เนื้อทองผสมแบบพระชินราชอินโดจีน คือเหลืองอมเขียว(ไม่เหลืองอย่างเดียว) และเนื้อแก่เงิน(มีน้อย)...

รูปหล่อพิมพ์ต่างๆแบ่งได้ดังนี้ 1.พิมพ์ใหญ่นิยม A องค์พระอวบอ้วน หน้าอูมใหญ่ พระหล่อเดิมๆ ส่วนใหญ่ไม่มีรอยแต่งตะไบ(ราคาว่ากันเป็นแสนแล้ว) 2.พิมพ์ใหญ่นิยม B องค์พระอวบอ้วน หน้าอูมใหญ่ แตฐานเล็กกว่า ไหล่เล็กกว่าพิมพ์ A และมีรอยแต่งตะไบข้าง(ราคาหลักหมื่นกลางถึงปลาย) 3.พิมพ์ใหญ่หน้าหนู มีจำนวนน้อย ขนาดเท่าพิมพ์ใหญ่ แต่จมูกปากยื่นแหลมคล้ายหนู(ราคาหลักหมื่นต้น) 4.พิมพ์กลางฐานสูง ขนาดเล็กกว่าพิมพ์ใหญ่ แต่ฐานจะสูง(ราคาหลักหมื่นกลาง) 5.พิมพ์เล็กก้นอุ และก้นธรรมดา เป็นพิมพ์หายาก มีขนาดเล็กสุด ใต้ฐานมีทั้งตอกโค๊ดอุ และไม่ตอกโค๊ด พิมพ์ก้นอุมีหน้าตาชัดที่สุด(หลักหมื่นต้น)...

ขอขอบพระคุณนิตยสารไทยพระ และ ศึกษาและสะสม...ที่ได้รวบรวมข้อมูลไว้เพื่อเป็นวิทยาทาน ในการศึกษาและค้นคว้าต่อไป...ขอบคุณครับ

ข้อมูล หลวงพ่อเงิน กรุวัดห้วยเขนกันครับ

ข้อมูล หลวงพ่อเงิน กรุวัดห้วยเขนกันครับ

พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินเนื้อโลหะของวัดห้วยเขน พิจิตรปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายในหมู่นักสะสมพระเครื่อง แต่พระพิมพ์คะแนนกรุวัดห้วยเขน เนื้อดิน นักสะสมบางท่านยังมีข้อสงสัย ว่าหลวงพ่อเงินเป็นคนสร้างหรือใครเป็นคนสร้าง หรือที่ปรากฏในเวปต่างๆหรือในอินเตอร์เน็ทว่าพระครูล้อมสร้าง แล้วนำมาให้หลวงพ่อเงินเสก บางคนไม่เชื่อคิดว่าเก๊ก็มี แต่จากนวลกรุที่ปรากฏบนผิวพระ เนื้อดินของวัดห้วยเขน แสดงให้เห็นว่าพระกรุนี้เป็นของแท้และเก่าจริง แต่ยังไม่มีการยืนยันว่าใครเป็นคนสร้างพระคะแนนเนื้อดินและพระเนื้อโลหะวัดห้วยเขน

ข้อมูลอย่างเป็นทางการคือพระวัดห้วยเขนทั้งหมดทุกชนิดจัดสร้างโดยหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ในสมัยของพระครูล้อม เป็นเจ้าอาวาส มีรายละเอียดดังนี้

ประวัติการสร้างพระวัดห้วยเขนเป็นทางการ
หลวงพ่ออั้นหรือพระครูพิศิษฏ์ธรรมานุวัตรท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่9ของวัดห้วยเขน ท่านเกิดปี2480 บวชเณรปี2494 จนปัจจุบัน ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่ออ๋อยวัดหนองบัว ต้นตระกูลของท่านเป็นคนในพื้นที่ตำบลห้วยเขน หลวงพ่ออั้นเป็นหลานตาพระครูพิทักษ์ศิลคุณ(ล้อม โลหะทัศน์)เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดห้วยเขนและเจ้าคณะอำเภอบางมูลนากรูปแรก ซึ่งเป็นผู้สร้างอุโบสถหลังแรกของวัดห้วยเขน โดยโยมยายของหลวงพ่ออั้นคือยายใบ เป็นน้องสาวถัดจากพระครูล้อม (พ่อแม่เดียวกัน) และโยมตาคือ ตาพุฒ ฉิมจิ๋ว น้องเขยพระครูล้อม (ประมาณ2410-2492 หมอแผนโบราณ หลวงพ่อเงินบวชให้) เมื่อพระครูล้อมจะสร้างโบสถ์ ท่านขายที่นาของโยมพ่อและโยมแม่ส่วนหนึ่ง รวมกับเงินที่ได้จากการจำหน่ายพระของหลวงพ่อเงิน ซึ่งหลวงพ่อเงินวัดบางคลานรับเป็นองค์อุปถัมภ์สร้างโบสถ์วัดห้วยเขน หลวงพ่อเงินได้สร้างพระดังต่อไปนี้

1 พระเนื้อดินพิมพ์คะแนนมีสองแบบคือ
พิมพ์นั่งมีปรกโพธิ์ และปรกโพธิ์ติดไม่ชัด
พิมพ์ยืนประทานพร มีปรกโพธิ์ และปรกโพธิ์ติดไม่ชัด
หลวงพ่อเงินได้ผสมเนื้อพระด้วยตัวท่านเอง และพระลูกวัดช่วยกันพิมพ์พระและเผาที่
วัด บางคลาน
2 พระรูปหล่อลอยองค์โลหะขนาด 5สลึงและหนึ่งบาท(รูปหล่อของวัดบางคลาน คนพื้นที่ เรียกว่า ขนาด 6สลึง)
มีเนื้อเงิน และ เนื้อทองเหลือง มีทั้งก้นเรียบ และก้นมี อุ หล่อได้เรียบร้อย บางองค์มีรอยแต่งด้วย
3 เหรียญทองเหลืองหล่อรูปไข่หรือใบพุทรา มีน้อยพบจากชาวบ้านแถววัดห้วยเขนเพียง 5องค์ เป็นของอดีตทายกวัดห้วย เขนทุกองค์
4 เหรียญหล่อจอบใหญ่และเล็ก หาพระของแท้มายืนยันไม่ได้ คิดว่าปัจจุบันคงเล่นเป็นของวัดบางคลานทั้งหมด
ในปี2525 เมื่อมีข่าวกรุวัดห้วยเขนแตก หลวงพ่อเปรื่อง เจ้าอาวาสวัดบางคลานเดินทางมาดูเหตุการณ์ที่วัดห้วยเขน บอกหลวงพ่ออั้นว่า ท่านพกจอบใหญ่วัดห้วยเขนอยู่
5 รูปถ่ายหลวงพ่อเงิน ขนาดโปสการ์ด
พระทั้งหมดทำที่วัดบางคลานเสร็จแล้ว หลวงพ่อเงินเอาบรรทุกหลังช้างเอาไปจำหน่ายที่
วัดห้วยเขน

สมัยนั้นมีลูกศิษย์พระครูล้อม เช่น
ทายกแดง มั่นกำเนิด (หลวงพ่อเงินบวชให้)
ทายกสังวาลย์ ศรีสังข์ ( ประมาณ2440-2515)
ทายกผู้ใหญ่โต๊ะ สุขสอน(2444-2534)
ช่วยเดินจำหน่ายพระเหล่านั้น ในราคาองค์ละหนึ่งบาท
โบสถ์เริ่มสร้างในปี2456 สร้างเสร็จปี2460

ผู้เฒ่าเหล่านี้และโยมตาพุฒเป็นผู้ให้ข้อมูลพระหลวงพ่อเงินกรุวัดห้วยเขนแก่หลวงพ่ออั้น และเป็นผู้ยืนยันหลักฐานสำคัญที่เป็นพระเครื่อง หรือรูปถ่าย ที่ท่านเคยเดินจำหน่ายหรือเคยรับจากมือหลวงพ่อเงินบางคลานในสมัยนั้นและท่านได้เก็บรักษาไว้ ตกทอดมาถึงลูกหลาน

วัตถุมงคลที่กำลังมาแรง

วัตถุมงคลที่กำลังมาแรง ในวงการพระเครื่องทุกวันนี้ เป็นที่ยอมรับกันว่ามี พระหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร รุ่น "วัดห้วยเขน" รวมอยู่ด้วย เนื่องจากประวัติการสร้างเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน แน่นอน และเชื่อว่าทันยุคหลวงพ่อเงินปลุกเสก แม้ว่ายังไม่มีใครสามารถหาเอกสารมายืยยันได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์

           และที่สำคัญคือ ได้มีผู้ที่นำ พระหลวงพ่อเงิน รุ่น "วัดห้วยเขน" ไปใช้แล้ว ต่างมีประสบการณ์ต่างๆ นานา ซึ่งล้วนเป็นเรื่องจริง และมีผู้ยืนยันได้


           พระหลวงพ่อเงิน รุ่นนี้ กล่าวกันว่า เริ่มจาก ท่านพระครูล้อม เจ้าอาวาสวัดห้วยเขน อ.บางมูลนาค จ.พิจิตร ในสมัยนั้น ได้ขี่ช้างไปหาหลวงพ่อเงิน ที่วัดบางคลาน เพื่อขอให้ท่านไปช่วยสร้างวัดห้วยเขน โดยท่านได้นำนกกระทาไปฝากหลวงพ่อเงินด้วย เพราะท
ราบว่าหลวงพ่อเงิน ชอบนกกระทา

           หลวงพ่อเงิน ได้รับปากว่าจะไปช่วยสร้างถาวรวัตถุให้วัดห้วยเขน ดังนั้น ในปี ๒๔๕๖ หลวงพ่อเงิน จึงได้ขี่ช้างมายังวัดห้ว
ยเขน ระยะทางประมาณ ๒๐ กม.

           วัตถุมงคลที่จัดสร้างในยุคนั้นมีทั้ง รูปหล่อ จอบ เหรียญหล่อ ภาพถ่ายหลวงพ่อเงินขาวดำ พระเนื้อดิน พิมพ์ต่างๆ อาทิ พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ยืน พิมพ์พระสมเด็จ ฯลฯ โดยหลวงพ่อเงินได้กำหนดการทำบุญ องค์ละ ๑ บาทเท่ากันหมด

           โดยเฉพาะพระเนื้อดิน มีความพิเศษที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้ คือ พระชุดนี้หลวงพ่อเงินผสมผง และคนด้วยมือของท่านเอง จนได้ที่แล้วจึงให้พระเณรไปช่วยกันกดพิมพ์

           พระเนื้อดินนี้หลวงพ่องเงิน ได้แจกให้เด็กในวัด ต่อมาเด็กคนนี้ถูกสุนัขกัด แต่ไม่เข้า จนเป็นที่เลื่องลือกันอย่างกว้างขวาง ทำให้พระเนื้อดินชุดนี้ถูกขโมยลักลอบขุดเอาพระไปหลายครั้ง ทางวัดจึงได้เปิดใต้ฐานชุกชี เพื่อนำพระออกมาให้ชาวบ้านบูชา

           จากหลักฐานการขอเขตวิสุงคามสีมา ปรากฏว่า มีการขอและอนุญาตประมาณปี ๒๔๖๐-๒๔๖๑ แสดงว่าหลวงพ่อเงินมาที่วัดห้วยเขน ปี ๒๔๕๖ และอยู่จนกระทั่งสร้างวัดเสร็จ รวมระยะเวลาประมาณ ๕ ปีเศษ

           ในวงการนักสะสมพระรูปเหมือนของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ ต่างยอมรับว่า พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน มาเป็นอันดับหนึ่ง และเป็นสุดยอดที่ถือเป็นอมตะตลอดกาล แต่มูลค่าการซื้อขายในทุกวันนี้ องค์ละเป็นล้านขึ้นไป เมื่อเกิดกระแสนิยม พระหลวงพ่อเงิน รุ่น "วัดห้วยเขน" ซึ่งเป็นพระเททองหล่อแบบโบราณ มีหลายพิมพ์หลายเนื้อ ออกมาให้เช่าหากันเช่นนี้ นับเป็นอีกทางเลือกของผู้ที่อยากได้ พระหลวงพ่อเงิน ของแท้ และทันยุคของท่าน มาไว้สักการบูชาติดตัว เชื่อว่าพุทธคุณย่อมเหมือนกับของวัดบางคลานอย่างแน่นอน


หลวงพ่อเงิน วัดห้วยเขนองค์นี้ พี่อัครใจดีแบ่งให้ในราคามิตรภาพ เนื้อออกสัมฤทธิ์ เนื้อแบบนี้ไม่ใช่จะหากันง่ายๆ รายละเอียดส่วนใหญ่ชัดเจนดี ดูง่ายที่สุดแล้วครับ

หล่อโบราณเท่าปลายนิ้วก้อย พิมพ์ทรงปราณีต ตะไบทรงทางเดียวสม่ำเสมอ
ขัดทรง เกลาฐานเรียบอย่างดี ครับ
ที่สำมะคัญ เปี่ยมมากล้นด้วยพุทธานุภาพและพุทธคุณสุดคณานับตามใจปรารถนาครับ

อีกอย่าง พระหล่อเก่า ข้อสังเกตุคือจะไม่มีการตะไบแต่งผิวนะครับ หล่อเสร็จแล้วเสร็จเลย
ใครเคยไปดูงานหล่อพระจะทราบดี เพราะมิใช่แค่10-20องค์ แต่ สร้างพระทีเป็นร้อยเป็นพัน
แต่จะแต่งทรงเพิ่มด้วยตะไบบ้าง เช่น เน้นร่องจีวร ร่องหู และจะเห็นรอยตะไบเป็นเหมือนๆกันทุกองค์
ฝากไว้พิจารณาด้วย

http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/104631

หลวงพ่อเงิน วัดห้วยเขน

หลวงพ่อเงิน วัดห้วยเขน

ทุกวันนี้ได้รับการยอมรับเป็นสากลแล้วว่า ทันหลวงพ่อเงินปลุกเสก และมีการใส่ลงไว้ในงานประกวดพระท้องถิ่นมานานแล้ว เซียนสมัยก่อนไม่ยอมรับแต่ปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารเพิ่มแพร่หลาย ความจริงจึงเริ่มปรากฎ

เมื่อมีคนรู้มากขึ้น เซียนน้อยใหญ่ต่างกว้านซื้อเก็บกันแบบเงียบๆ ราคาเริ่มขยับจากหลักพันขึ้นสู้หลักหมื่นต้นๆแล้วในปัจจุบัน

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลานรุ่นพิมพ์นิยม พิมพ์ขี้ตา ราคาไปไกลสุดเอื้อมแล้ว วัดห้วยเขนจึงเป็นทางเลือกที่ดี ประวัติการสร้างชัดเจน เพียงแต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ข้อมูลกันมากนัก

ผมจึงถือโอกาสที่ได้ครอบครอง หลวงพ่อเงิน วัดห้วยเขนองค์นี้เป็นองค์แรกจึงขอนำข้อมูลความเป็นมาให้เพื่อนๆได้พิจารณากันครับ



บทความข้างล่างนี้คัดลอกมาจากเวปเพื่อนบ้านครับผม ขอบคุณเจ้าของบทความมา ณ ที่นี้ด้วย


วัตถุมงคลของวัดห้วยเขน จ.พิจิตร ตอนนี้ถือว่ากำลังมาแรงมาก นับวันก็จะหายากขึ้นทุกที และราคาก็ไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ

เนื่องจากประวัติการสร้างเริ่มมีความชัดเจน อีกทั้งผู้ที่นำไปใช้ต่างมีประสบการณ์ต่าง ๆ นานา

แต่ความที่ผมเป็นคนช่างสงสัย ไม่ค่อยจะเชื่ออะไรใครง่าย ๆ ดังนั้นเมื่อมีโอกาสผมจึงขับรถไปที่วัดห้วยเขนด้วยตัวคนเดียวเมื่อวันศุกร์ที่ 25 ม.ค. 2551 พอไปถึงฝนก็ตกพรำ ๆ

ผมได้มีโอกาสพบพระคุณเจ้ารูปหนึ่งที่มีอายุค่อนข้างมาก ท่านได้เมตตาพาผมไปที่อุโบสถที่หลวงพ่อเงินมาสร้างเอาไว้ พร้อมทั้งเปิดประตูให้เข้าไปชมข้างใน นอกจากนี้ผมยังได้มีโอกาสพบกับท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

ผมจึงได้สอบถามท่านถึงประวัติการสร้างวัดและวัตถุมงคลของวัดห้วยเขน ท่านได้เมตตาเล่าให้ฟังว่า พระครูล้อม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้น ได้ขี่ช้างไปหาหลวงพ่อเงิน ที่วัดบางคลาน เพื่อขอให้ท่านมาช่วยสร้างวัดโดยท่านไม่ลืมที่จะนำนกกระทาไปฝากหลวงพ่อเงินด้วย เพราะท่านทราบว่าหลวงพ่อเงินชอบนกกระทา พอไปถึง หลวงพ่อเงินเห็นหลวงพ่อล้อมนำนกกระทามาฝาก ท่านก็หัวเราะชอบใจ พร้อมกับชมหลวงพ่อล้อมว่าช่างรู้ใจท่าน

หลวงพ่อเงินจึงรับปากว่าจะไปช่วยสร้างถาวรวัตถุให้วัดห้วยเขน ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2456 หลวงพ่อเงินจึงได้ขี่ช้างมายังวัดห้วยเขน ซึ่งหากดูในแผนที่ประเทศไทยแล้วตีเป็นเส้นตรงจากวัดบางคลานมายังวัดห้วยเขนจะเป็นระยะทางประมาณ 20 ก.ม. ท่านเจ้าอาวาสได้กรุณาชี้ให้ผมดูจุดที่หลวงพ่อเงินเมื่อขี่ช้างมาถึงวัดแล้วนำไปผูกที่ใต้ต้นโพธิ์ แต่ปัจจุบันต้นโพธิ์ต้นนั้นได้ล้มตายไปแล้ว ทางวัดได้ปลูกขึ้นใหม่ในจุดใกล้ ๆ กัน

เสียดายที่ผมไม่ได้นำกล้องติดตัวไปด้วย ท่านยังได้เล่าถึงวัตถุมงคลที่สร้างในยุคนั้นให้ฟังว่า มีทั้งรูปหล่อ จอบ เหรียญหล่อ ภาพถ่ายหลวงพ่อเงินขาวดำ พระที่สร้างด้วยเนื้อดินพิมพ์ต่าง ๆ เช่น พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ยืน พิมพ์พระสมเด็จ เป็นต้น โดยวัตถุมงคลทุกชิ้น หลวงพ่อเงินได้กำหนดราคาเท่า ๆ กันคือ 1 บาท โดยเฉพาะพระที่สร้างด้วยเนื้อดินมีความพิเศษที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้ กล่าวคือ พระชุดนี้หลวงพ่อเงินจะผสมผงและคนด้วยมือของท่านเองจนได้ที่แล้วจึงให้พระและเณรไปช่วยกันกดพิมพ์

หลวงพ่อเงินเคยแจกพระเนื้อดินให้เด็กในวัด ต่อมาเด็กคนนี้ถูกสุนัขกัดแต่ไม่เข้า ชาวบ้านจึงมาเล่าให้หลวงพ่อเงินฟัง หลวงพ่อฟังแล้วก็หัวเราะชอบใจ พระเนื้อดินชุดนี้ตอนหลังได้ถูกขโมยลักลอบขุดหลายครั้ง ทางวัดจึงเปิดใต้ฐานชุกชีเพื่อนำพระออกให้ประชาชนบูชา เคยมีคนอยากได้พระชุดนี้แต่เมื่อทราบว่าหมดไปแล้ว ก็เข้าไปในโบสถ์อธิษฐานแล้วเอามือไปรองใต้ฐานชุกชี ปรากฏว่ามีพระหล่นใส่มือมา 1 องค์ ท่านเจ้าอาวาสกล่าวว่าเมื่อดูจากหลักฐานการขอเขตวิสุงคามสีมาปรากฏว่ามีการขอและอนุญาตประมาณปี 2460 - 2461 แสดงว่าหลวงพ่อเงินมาที่วัดห้วยเขน ปี 2456 และอยู่จนกระทั่งสร้างวัดเสร็จ รวมระยะเวลาประมาณ 5 ปีเศษ


ต้องยอมรับว่าในบรรดารูปหล่อแล้ว สุดยอดที่ถือเป็นจักรพรรดิ์ต้องเป็นของหลวงพ่อเงิน ดังนั้นหากจะเทียบว่าวัตถุมงคลของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน คือวัดระฆังแห่งเมืองพิจิตร พระชุดของวัดห้วยเขนก็คือวัดบางขุนพรหมแห่งเมืองพิจิตรดี ๆ นี่เอง เพราะประวัติการสร้างคล้ายกับที่สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ไปช่วยสร้างวัดบางขุนพรหม อย่างไรอย่างนั้น
ขอบคุณข้อมูลดีจาก เวป http://palungjit.org